รับสมัครนักศึกษาใหม่ ภาคเรียนที่ 1/2566 ตั้งแต่วันนี้ ถึง 30 เมษายน 2566


วันพุธที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2553

เทคนิคการร้องเพลง


การร้องเพลงมีสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมากมาย ซึ่งถ้าเราเรียนรู้องค์ประกอบต่างๆแล้ว ก็สามารถที่จะนำมาใช้ในบทเพลงได้ การที่จะร้องเพลงสักเพลงหนึ่ง การควรที่จะศึกษาบทเพลงนั้นๆ ด้วยความละเอียดอ่อน อาจจะร้องทีละวรรค พิจารณา ความหมาย, ทำนอง, จังหวะ รวมไปถึงอารมณ์ของบทเพลง การฝึกซ้อมกับบทเพลงจริงๆนั้น เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นการนำสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ จากทฤษฎี มาฝึกปฏิบัติให้เกิดความเคยชิน สามารถนำเทคนิคต่างๆ มาใช้ได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ครอบคลุมไปถึง ความถูกต้องในการใช้สระและพยัญชนะในภาษา การควบคุมลมหายใจ การสร้างพลังในการขับร้อง การควบคุมระดับความสูงต่ำของเสียงไม่ให้เพี้ยน คุณภาพของเนื้อเสียง ความหนัก-เบา ในการใช้น้ำเสียง

ขั้นตอนในการต่อเพลง

1. อ่านเนื้อเพลงทั้งหมดก่อน และทำความเข้าใจกับความหมาย ของเนื้อร้องโดยละเอียด ว่ามีอารมณ์อย่างไร เศร้า สุข สนุกสนาน ซึ่งการอ่านเนื้อเพลง จะทำให้เราสามารถเลือกใช้น้ำเสียง Tone เสียงให้เหมาะกับบทเพลงได้
2. ฟังทำนองของบทเพลง เพื่อให้เกิดความเคยชิน และสามารถรับรู้ได้ถึงความหนักเบาของบทเพลง ในแต่ละท่อนได้ เพื่อให้เราสามารถเลือกใช้ และกำหนดความหนัก-เบา (Dynamic) ของน้ำเสียงได้
3. หา Form ของเพลงในแต่ละเพลงว่ามีลักษณะอย่างไร มี Intro,Solo,Ending กี่ห้อง มีการจัดวางท่อนของบทเพลงอย่างไร เพลงที่จะร้องเป็นคีย์ใด มีระดับเสียงสูงหรือต่ำ เหมาะสมกับเสียงของเราหรือไม่
4. ซ้อม-เก็บรายละเอียดต่างๆ ที่จำเป็นในการร้องเพลง อาทิ การหายใจ น้ำเสียง เพื่อที่จะนำมาใช้จริงในบทเพลง เพื่อให้ได้การฝึกซ้อมอย่างมีประสิทธิภาพ

การขับร้องเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ

การขับร้องให้ได้เสียงที่มีคุณภาพ นั้น หมายถึง การขับร้องให้ได้เสียงที่ชัดเจน ทั้งระดับเสียงที่คงที่ไม่แกว่ง ระดับความสูงต่ำของโน้ตที่ถูกต้องตามเมโลดี้ การควบคุมจังหวะในการร้องเพลง ความหมายที่ถ่ายทอดออกมา ฯลฯ
การสร้างเสียงให้ได้คุณภาพนั้นเราสามารถทำได้โดย เน้นให้เสียงแต่ละเสียงที่ถูกเปล่งออกมา เป็นไปตามขั้นตอนดังนี้
1.ขณะที่เราร้องเพลง ควรรู้สึกว่าเสียงที่เปล่งออกมานั้น ให้ความรู้สึกที่พุ่งออกไปข้างหน้า (Projection) และมีจุดรวมกันอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่งบนบริเวณใบหน้า หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย (Registration) แล้วแต่ Tone ของเสียงที่เราจะเปล่งออกมา Registration ของเสียงจะเปลี่ยนไปตาม Tone ของเสียงนั้นๆ แต่ควรระวังไม่ให้ Registration ของเสียงไปตกอยู่ที่ลำคอหรือจมูก เพราะจะทำให้เกิดอาการเกร็งไปโดยอัตโนมัติ ทำให้เสียงที่ได้เกิดความกระด้าง ไม่น่าฟัง

2.ควรยืนให้ลำตัวตรง (Hold body) หลังตรง ยืดอก ไหล่ผาย หน้าตรง ไม่เกร็งส่วนใดส่วนหนึ่ง เพื่อให้ปอด กระบังลม ลำคอ ปาก ลิ้น ขากรรไกร ทำงานได้อย่างสะดวก ปกติ และเต็มประสิทธิภาพ และนอกจากนี้ ยังเป็นการเสริมให้เรา เป็นนักร้องที่มีบุคลิกภาพที่ดีอีกด้วย

3.คิดถึงบรรยากาศ สร้างจินตนาการ (Imagination) ตามความหมายของเนื้อเพลงเพื่อให้เสียงที่เปล่งออกมา สามารถสื่ออารมณ์ได้อย่างมีชีวิตชีวา

4.ถ่ายทอดอารมณ์ตามบทเพลง เพลงแต่ละเพลง จะแสดงออกถึงความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลงต่างกัน ผู้ขับร้องจึงควรถ่ายทอดอารมณ์จากบทเพลงให้ถูกต้อง ตามความหมายของบทเพลงแต่ละเพลง เพลงรักก็ต้องร้องให้อยู่ในอารมณ์รัก สามารถใช้น้ำเสียงสื่อถึงความหมาย และอารมณ์ของบทเพลง ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกคล้อยตามได้ ดังนั้นก่อนที่นักร้องจะเริ่มทำการขับร้อง จึงควรศึกษาความหมายของบทเพลง ให้เกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง เพื่อที่จะสามารถขับร้องออกมา ได้ตามความหมายของบทเพลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น